ความทนของสายพานลำเลียง

ความทนของสายพานลำเลียง

ความทนของสายพานลำเลียงขึ้นอยู่กับประเภทของสายพานและเงื่อนไขการใช้งาน เช่น ปริมาณการใช้งาน อุณหภูมิแวดล้อม แรงดันที่ใช้งาน ความเร็วที่สายพานต้องทนได้ เป็นต้น รวมถึงการใช้งานที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้สายพานมีการเกิดการเสียดทานและเสียหายได้ง่ายๆ

สายพานลำเลียง (Conveyor Belt) คือ

วัสดุที่ใช้ในการขนส่งวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยการใช้แรงเสียดทานของสายพานเพื่อเคลื่อนย้ายวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง สายพานลำเลียงมักใช้กับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งสายพานลำเลียง Macbelt ของเรามีหลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์และความต้องการของงาน รวมถึงสามารถปรับแต่งความเร็วและทิศทางการเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการของการใช้งานแต่ละรูปแบบของสายพานลำเลียง

ความทนของสายพานลำเลียง

สายพานลำเลียงที่มีความทนทานสูงมักจะทำจากวัสดุเช่นยางหรือพลาสติก โดยมีความหนาและความกว้างที่เหมาะสมกับงานที่ต้องการใช้งาน นอกจากนั้นการดูแลรักษาสายพานลำเลียงอย่างเหมาะสมและการตรวจสอบความเสียหายของสายพานเป็นปัจจัยที่สำคัญในการรักษาความทนทานและการใช้งานที่ปลอดภัยของสายพานลำเลียงในระยะยาว

ปัจจัยความทนของสายพานลำเลียง

ความทนของสายพานลำเลียงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น วัสดุที่ทำจาก (ยาง PU หรือ PVC) และความหนาของสายพาน รวมถึงขนาดและน้ำหนักของวัสดุที่จะถูกลำเลียงโดยสายพานด้วย แต่สามารถสรุปได้ว่าสายพานลำเลียงมักมีความทนทานและความเสถียรสูง เนื่องจากมักถูกออกแบบมาให้ทนทานต่อการใช้งานในสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น การทำงานภายในโรงงาน การขนย้ายวัสดุในโรงงาน หรือการนำไปใช้ในเครื่องจักรอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยสายพานลำเลียงที่ใช้งานในอุตสาหกรรมและโรงงานมักมีความทนทานสูง โดยมีประเภทสายพานหลายแบบ เช่น สายพานโพลีเอสเตอร์ (Polyester) ทนทานต่อแรงดันและแรงเสียดทาน และสายพานพีวีซี (PVC) ทนต่อความเปราะและความเสียหายจากการใช้งานหนักได้ดี

ในอีกนัยหนึ่ง ความทนทานของสายพานลำเลียงจะมากหรือน้อย นอกจากขึ้นอยู่กับคุณภาพของสายพานแล้ว จะขึ้นอยู่กับการออกแบบทางวิศวกรรมของกระบวนการผลิตหรือหน้างานนั้นๆ การใช้สายพานผิดประเภทในหน้างาน และคุณภาพของการติดตั้งสายพาน และ ต่างล้วนแล้วส่งผลต่อความทนทานและประสิทธิภาพการใช้งานทั้งสิ้น

สายพานลำเลียง Macbelt เปี่ยมล้นไปด้วยคุณภาพและความทนทานของสายพานที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อดึงประสิทธิภาพของสายพานออกมาในการใช้งานในแต่ละประเภทของกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นสายพาน PVC หรือ PU ต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการใช้สายพาน Macbelt เพื่อประสิทธิภาพและความทนทานสูงสุด

  1. ความหนา (Thickness)

วัสดุบนสายพานสัมพันธ์โดยตรงกับการเลือกความหนาของสายพาน วัสดุที่มีความหนักและมีส่วนคม สายพานจำเป็นที่ต้องมีความหนาและ Tensile strength ที่สูง  เนื่องจากเคลื่องลำเลียงต้องใช้แรงดึงและลากสายพานเพื่อนำส่งวัสดุนั้นๆจากจุด A ไป จุด B และมีโอกาสในการเกิดความสึกหรอบนเนื้อสายพานสูง เนื้อสายพานจึงต้องมีความหนาที่มาก และเครื่องลำเลียงประเภทต่างกันก็รองรับความหนาของสายพานที่แตกต่างกันออกไปเช่นเดียวกัน

  1. อุณหภูมิ (Working temperature)

สายพานลำเลียง Macbelt PVC/PU จะมีประสิทธิภาพสูงสุดหากคำนึงถึงอุณหภูมิสูงสุดที่จะรับได้ในระหว่างการใช้งาน  สายพานแต่ละรุ่นของเรามีขอบเขตอุณหภูมิในการใช้งานแตกต่างกันออกไป หากใช้ผิดประเภทแล้ว ความทนทานและประสิทธิภาพจะมีอัตราที่ลดหย่อนลงไป สายพาน Macbelt PU มีขอบเขตของอุณหภูมิอยู่ที่ -40 ถึง 110 องศาเซลเซียส ส่วน Macbelt PVC นั้นจะอยู่ที่ -10 ถึง 100 องศาเซลเซียส ยกเว้น PVC ที่เป็นสีขาว จะทนได้ถึง 110 องศาเซลเซียส

  1. แรงเสียดทาน (Friction)

เพื่อเป็นการป้องกันการสึกหรอของตัวสายพานและผ้าใบ แรงเสียดทานถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีส่วนต่อความทนทานและประสิทธิภาพ ซึ่งแรงเสียดทานจะสอดคล้องกับพื้นผิวชั้นล่างของตัวสายพานและพื้นของเคลื่องลำเลียง สิ่งสำคัญคือการปกป้องตัวสายพานจากการสึกหรอและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน เพราะฉะนั้นหากพื้นของเครื่องลำเลียงเป็นพื้นโลหะ ชั้นล่างของสายพานต้องเป็นชั้นผ้าใบเพื่อลดแรงกระทำอันเกิดมาจากแรงเสียดทานของผิว PVC หรือ PU แต่หากพื้นของเคลื่องลำเลียงเป็นลูกกลิ้ง ซึ่งมีพื้นผิวที่สัมผัสกับสายพานมีน้อย สายพานจำเป็นต้องมีแรงเสียดทานเพื่อขับเคลื่อน

  1. พื้นผิว (Surface)

ชนิดของพื้นผิวสายพาน Macbelt ของเรามีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบเรียบด้าน (Smooth and Matt) ผ้าใบ (Fabric) หรือ Embossed Diamond Supergrip และ Basketweave รองรับการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าและวัสดุที่ลำเลียง การที่ใช้พื้นผิวผิดประเภทมีผลทำให้สายพานนั้นมีความทนทานที่ลดลงไป อันเนื่องมาจากสายพานนั้นเกิดการสึกหรอจากวัสดุลำเลียงและอาจถูกใช้งานอย่างหนักเกินจริงหรือผิดประเภท

  1. ลูกกลิ้ง (Pulley)

ความทนทานของสายพานจากสูงที่สุดหากพิจารณาจากขนาดขั้นต่ำของลูกกลิ้งที่สายพานนั้นๆจะรองรับได้ หากใช้เกินขั้นต่ำ สายพานจะเกิดการแตกบนผิวสายพาน เส้นใยหลุด หรือการสึกหรออื่นๆได้ในอนาคต เนื่องจากลูกกลิ้งเป็นจุดที่เกิดแรงกระทำอย่างต่อเนื่องบนตัวสายพานเป็นระยะเวลานาน ตัวอย่างเช่น Macbelt CB2UM03G รองรับขนาดลูกกลิ้งขั้นต่ำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ 25 มิลลิเมตร และ CB2VT10W รองรับที่ 50 มิลลิเมตร

  1. แรงตึง (Tension)

แรงตึงหรือ Tension คือ ปริมาณแรงที่กระทำบนตัวสายพานที่ส่งผลมากพอที่ทำให้สายพานเกิดการผิดรูป ยืด จนไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ปัจจัยนี้สำคัญมากพอที่ทำให้ต้องรู้ว่ากระบวนการผลิตนั้นต้องการสายพานที่รองรับ Tension ได้สูงสุดที่เท่าไหร่และเลือกใช้สายพานให้ถูกกับหน้างานนั้นๆ โดย Macbelt CB2UM03G ที่เป็น PU ผิวเรียบด้าน สีเขียวของเรา สามารถรองรับ Maximum Tension ได้ที่ 20 N/mm. 

  1. แรงที่ส่งผลต่อระยะการยืดตัวที่ 1 เปอร์เซ็นต์ (Load at 1 percent elongation)

ข้อนี้มีความคล้ายคลึงกับแรงตึง หรือ Tension แต่แตกต่างกันที่เป็นแรงที่ส่งผลทำให้สายพานมีการยืดตัวที่ 1 เปอร์เซ็นและกลับมาสู่สภาพเดิมได้ โดย Macbelt CB2UM03G ที่เป็น PU ผิวเรียบด้าน สีเขียวของเรา สามารถรองรับ Load at 1 percent elongation ได้ที่ 16 N/mm. 

นอกจากนี้การดูแลรักษาและบำรุงรักษาสายพานลำเลียงอย่างเหมาะสมก็สามารถช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของสายพานได้ เช่น การทำความสะอาดสายพานอย่างเป็นระยะๆ การตรวจสอบความแข็งแรงของสายพาน เป็นต้น